5 อาการที่ต้องปรับลำใส้
ระบบลำไส้ต่างไปจากอวัยวะอื่นในร่างกาย ตรงที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง มันตัดสินใจเองโดยอัตโนมัติ และไม่ต้องให้สมองสั่งการว่าจะทำอะไร จึงถูกเรียกว่า “สมองที่สองของร่างกาย” เพราะผลิตสารสื่อประสาทคล้ายกับสมอง ลำไส้ของเรามีเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ และมีเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดเดียวกับในสมองอยู่มากถึงร้อยละ 95 ของปริมาณเซโรโทนินทั้งหมดในร่างกาย และถ้าหากระบบลำใส้เสียสมดุลก็มักจะเกิดอาการผิดปกติกับร่างกายดังนี้
1.นอนไม่หลับ,เครียด,อารมณ์แปรปรวน
มีงานวิจัยที่กล่าวถึง โพรไบโอติกกลุ่มแลคโตบาซัลลัสที่มีปริมาณลดลง อาจจะลดระดับของสารเซโรโทนินลง และส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ของเราได้ รวมถึงความสุข ระดับความกังวล และอาการซึมเศร้า จากการศึกษาเปรียบเทียบของกลุ่มนักศึกษาแพทย์ที่ป่วยทางจิตและสุขภาพจิตที่ดี โดยการให้บริโภคอาหารหมักดอง พบว่าสามารถเพิ่มโพรไบโอติกได้ และลดภาวะการแปรปรวนของอารมณ์
2.ท้องอืด,ท้องผูก,ถ่ายบ่อย
การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีในลำใส้ มีส่วนทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารได้ การปรับสภาพของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยใช้โพรไบโอติก กลุ่มแลคโตบาซัลลัส สามารถทำให้เยื่อบุลำไส้หลั่งสารพิษออกมาน้อยลง นอกนี้ยังช่วยปรับลดปริมาณจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบทำให้ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี และสามารถลดการอักเสบซ้ำได้โดยการใช้แลคโตบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียม
3.อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ
โพรไบโอติกมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เมื่อขาดโพรไบโอติก ร่างกายจะอ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง ท้องเสียหรือ ท้องผูกเรื้อรัง หรือบางคนก็อาจมีอาการอื่นเพิ่มเติมซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
4.ปวดตามข้อ
การศึกษาเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและเกี่ยวข้องกับอาการปวดเรื้อรังที่ลุกลาม โดยการให้โพรไบโอติกกลุ่มแรมโนซัส LR-2 พบว่าส่งผลต่อการควบคุมไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบและต้านการอักเสบ และการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของระดับ CRP ซึ่งจะพบในเลือดเมื่อมีการอักเสบหรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
5.กินอาหารแล้วผื่นขึ้นเป็นบางครั้ง
จุลินทรีย์ในลำใส้ มีส่วนในการยังยั้งการดูดซึมสารบางชนิดที่อาจเป็นภัยกับร่างกาย ทั้งยังสร้างภูมิคุ้มกัน ถ้าหากเกิดการเสียสมดุลจะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง และเมื่อเรารับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วผื่นขึ้นเป็นบางครั้ง นั้นอาจหมายความว่าจุลินทรีย์ในลำใส้เสียสมดุล จึงมีการดูดซึมสารที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้อาการเหล่านี้ไม่รวมถึงอาการแพ้อาหารที่เกิดขึ้นประจำ
เรียบเรียง : เทพบวร มะกุล
อ้างอิง
- Therapeutic Anti-Depressant Potential of Microbial GABA Produced by Lactobacillus rhamnosus Strains for GABAergic Signaling Restoration and Inhibition of Addiction-Induced HPA Axis Hyperactivity https://www.mdpi.com/1467-3045/44/4/96/htm
- Who Benefits from Fermented Food Consumption? A Comparative Analysis between Psychiatrically Ill and Psychiatrically Healthy Medical Students https://www.mdpi.com/1660-4601/19/7/3861/htm
- กินอาหารหมักดองเพิ่มโพรไบโอติก เสริมภูมิสู้ไวรัสได้อย่างไร ? : รู้เท่ารู้ทัน https://www.youtube.com/watch?v=MKtD9TZ9yNo
- Efficacy of Probiotics in Rheumatoid Arthritis and Spondyloarthritis: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials https://www.mdpi.com/2072-6643/14/2/354/htm
1 thought on “5 อาการที่ต้องปรับลำใส้”
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น
[…] 1.rhamnosus Strains for GABAergic Signaling Restoration and Inhibition of Addiction-Induced HPA Axis Hyperactivity https://www.mdpi.com/1467-3045/44/4/96/htm2.Who Benefits from Fermented Food Consumption? A Comparative Analysis between Psychiatrically Ill and Psychiatrically Healthy Medical Students https://www.mdpi.com/1660-4601/19/7/3861/htm3.กินอาหารหมักดองเพิ่มโพรไบโอติก เสริมภูมิสู้ไวรัสได้อย่างไร ? : รู้เท่ารู้ทัน https://www.youtube.com/watch?v=MKtD9TZ9yNo4.Efficacy of Probiotics in Rheumatoid Arthritis and Spondyloarthritis: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials https://www.mdpi.com/2072-6643/14/2/354/htm5. 5อาการที่ต้องปรับลำใส้ https://www.skillsup.in.th/?p=172 […]